ข่าวสารและบทความ

ปูนเกราท์ (Cement Grout) คืออะไร?

ปูนเกราท์ (Cement Grout) คืออะไร?

หรือที่ช่างทั่วๆไปเรียกว่า (Non- Shink)คุณสมบัติหลักๆของ วัสดุตัวนี้คือ เป็นปูนทรายผสมเสร็จ มีกำลังรับแรงอัดสูง ไม่หดตัว เมื่อแข็งตัว เหลวทำงานง่ายขณะยังไม่เซตตัว มีการไหลตัวดีวัสดุประกอบด้วย ซีเมนต์และทรายคัดเกรด และสารเคมีผสมเพิ่ม หรือสารเพิ่มฟองอากาศ เรามักจะใช้ในงานเช่น การซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต การเทฐานของคอนกรีต การฝังหรือยึดชิ้นส่วนต่างๆ ข้อแนะนำหรือข้อควรระวัง พื้นผิวต้องแข็งแรง รับกำลังแรงอัดได้ ปราศจากฝุ่น เศษสิ่งสกปรก และหากต้องการฝังหรือยึดวัสดุต่างๆ วัสดุนั้นต้องไม่มีคราบน้ำมัน,จาระบี หรือสนิมครับ เวลาจะใช้งานซ่อมแซม ส่วนที่หลุดล่อนต้องสลัดออก จนถึงส่วนที่อยู่ในสภาพดีเพื่อป้องกันการหลุดล่อนจากพื้นผิวเก่าทำให้ของใหม่ที่ซ่อมแซมไปหลุดออกมาด้วย และเวลาเทปูนให้เทจากด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้นเพื่อป้องกันการเกิดโพรงอากาศขึ้นด้านใน ควรมีความหนาของปูนเกร้าท์ ไม่ต่ำ กว่า 25 mm.เป็นอย่างน้อยเนื่องมาจากการถ่ายแรงหรือการสะท้อนของแรงอัดทำให้แตกร้าวได้ง่ายและหากมีแรงอัดรับน้ำหนักสูงมากๆควรมีความหนาเพิ่มขึ้นโดยลำดับ

การผสม: ควรผสมน้ำตามสัดส่วนตามมาตรฐานของผู้ผลิต(ASTM หรือ BS.) ที่น่าเชื่อถือและควรดูอุณหภูมิระหว่างการผสมเมื่อพบว่าอุณหภูมิสูงควรใช้น้ำเย็นจัด รึอาจใช้น้ำแข็งแช่น้ำที่จะนำใช้ผสมโดยใช้ก้านปั่นมาตรฐานเนื่องด้วยหากใช้ก้านปั่นที่ผิดรูปแบบจากที่ควรจะเป็นมาใช้ปั่นจะกลายเป็นชักนำอากาศเข้ามาผสมมากเกินไปทำให้หลังเซตตัวผิวสัมผัสที่ด้านหน้าใช้รับน้ำหนักมีความพรุนมากเกินไป โดยมาตรฐานที่ดีจะดูการกระจายฟองอากาศอย่างสม่ำเสมอทำให้รับน้ำหนักแบกทานได้ดี หากเป็นหลุมใหญ่บ้างเล็กบ้างจะบ่งบอกถึงการผสมว่ามีอากาศเข้ามาในเนื้อมากเกินไปหรือปั่นผิดวิธี ควรเติมน้ำก่อนเท ปูนเกร้าท์ 10 % รองที่ก้นถังผสมแล้วจึงค่อยๆเทปูนเกร้าท์ลงไปแล้วปั่นด้วยก้านปั่นตลอดเวลาและค่อยๆเติมน้ำไปพร้อมๆกัน นั่นหมายถึงอาจต้องใช้คนถึง 3 คนในการทำงาน เพื่อให้งานออกมาได้มาตรฐานรับกำลังอัดได้ตามผู้ผลิต หากว่าอุณหภูมิสูงเกินไปจะทำให้ ปูนเกร้าเซตตัวไวมากทำให้ผสมไม่ทัน(ทำให้ช่างหลายๆคนเติมน้ำเพิ่ม) นั่นคือสาเหตุที่ทำให้กำลังอัดลดลงทันทีหลังการเซตตัว

คุณลักษณะเฉพาะ :
ปูนเกร้าท์ขยายตัวด้วยการสร้างฟองอากาศในการขยายตัวนั่นหมายถึงการดันตัวขึ้นบนจากการดันตัวของฟองอากาศเหมาะกับการเกร้าท์ใต้ฐานรับน้ำหนักต่างๆหากจะนำมาใช้กับงานซ่อมโครงสร้างทั่วๆไป จึงไม่ควรนักเนื่องจากหลังการเซตตัวและถอดแบบต้องสกัดออกด้วย การทุบสกัด ทำให้แผลซ่อมกระทบกระเทือนรุนแรงทำให้การยึดเกาะระหว่างคอนกรีตเก่ากับปูนเกร้าท์เสียไป มักจะปรากฏร่องรอยแยกหลังการซ่อมไม่นาน อาจต้องกลับมาซ่อมซ้ำอีก(แก้ผ้าเอาหน้ารอด) หากเป็นงานซ่อมในแนวดิ่งควรใช้ มอร์ต้ากำลังอัดสูง(Hihg strength mortar)ฉาบปิดผิวสุดท้ายจะเหมาะสมกว่า
**ดังนั้นหากเป็นงานที่มีการรับกำลังสูงๆควรให้ผู้ชำนาญทำการซ่อมจะเหมาะกว่าครับ แต่ถ้าเป็นงานทั่วๆไปก็ไม่ว่ากัน แต่ต้องคำนึงถึง น้ำ/ซีเมนต์(W/C : water cement ratio. )ไม่ให้มากเกินไปโดยทั่วตามท้องตลาดมีการแบ่งเกรดออกเป็น 2 เกรด คือ

  • แบบไหลตัวธรรมดา (Gerneral purpose)
  • แบบไหลตัวสูง (High Flow)
ผู้เขียน: Choksiri Chutongchai.