หมวดงานระบบกันซึม

Waterproofing membrane

ประเทศไทยมีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นฝนตกชุก ทำให้มีความชื้นในอากาศและในดิน ค่อนข้างสูง และเนื่องจากในช่วงระหว่างวันโดยเฉพาะฤดูหนาว คอนกรีตจะกักเก็บความร้อนที่มีมาและถ่ายคืนระเหยสู่ท้องฟ้า ในตอนกลางคืนที่อากาศเย็นจัด ทำให้คอนกรีตขยายและหดตัว อย่างรวดเร็ว จนอาจเกิดการแตกร้าวได้ หากเป็น ลานคอนกรีตกว้าง หรือไม่มีการเว้นร่องรอยต่อเพื่อ ป้องกัน ซึ่งแผ่นกันซึมก็จัดเป็นฉนวนชนิดหนึ่งที่ช่วยลดความร้อนสู่เนื้อคอนกรีต และหากมีการ แตกร้าวแผ่นกันซึม ก็สามารถป้องกันมิให้ทำความเสียหายแก่โครงสร้างและทรัพย์สินได้ ระบบกันซึมมีความสำคัญมากสำหรับสิ่งปลูกสร้าง เนื่องจากงานโครงสร้างทุกแบบ ย่อมมีเสาหรือวัสดุที่รับน้ำหนักโครงสร้างและยึดติดพื้นผิวให้เป็นรูปทรง หากวัสดุเหล่านั้นโดนน้ำ ย่อมทำให้วัสดุเหล่านั้นเสื่อมสภาพหรือ แปรสภาพ เป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งความเสียหายที่จะได้รับขึ้นอยู่กับว่ามีน้ำรั่วซึมไปโดนบริเวณไหน หากโดนวัสดุรองรับ น้ำหนักก็อาจรับน้ำหนักได้น้อยลงหรือ เกิดการแตกร้าว การผุกร่อน ดังนั้นระบบกันซึม จึงเรียกได้ว่ามีความสำคัญลำดับต้น ๆ ในการก่อสร้าง ระบบกันซึมจะต้อง สามารถช่วยปกป้องโครงสร้างและวัสดุพื้นผิวของตัวสิ่งปลูกสร้างได้ ระบบกันซึมมีการใช้งานมีหลากหลายรูปแบบทั้งภายในและภายนอก หากต้องการทำระบบกันซึมภายนอกบริเวณหลังคาหรือ บริเวณดาดฟ้านั้น

นอกจากมีคุณสมบัติแข็งแรง ยืดหยุ่นสูงแล้ว ยังต้องป้องกันการรั่วซึมของน้ำฝน และยังต้องป้องกันรังสียูวี (UV) จากแสงแดดได้อีกด้วยการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ก็ตาม จำเป็นต้องมีการออกแบบและวางข้อกำหนดต่างๆ รองรับ เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นจาก การรั่วซึม หรือจากความชื้นที่ซึมผ่านเข้าสู่ตัวอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ได้ สาเหตุที่ก่อให้เกิด การรั่วซึม หรือเกิดความชื้นซึมผ่าน ปัญหาการรั่วซึมหรือเกิดความชื้นซึมผ่าน นอกจากส่งผลโดยตรง ต่อโครงสร้างแล้ว ยังก่อให้เกิดการหลุดร่อนของวัสดุที่ปิดทับ เช่น สี Wallpaper และความชื้น ที่สะสมอาจก่อให้เกิดเชื้อรา ส่งกลิ่นอับทำลายคุณภาพชีวิต ซึ่งสาเหตุหลักของปัญหาดังกล่าว มักเกิดจากรอยต่อของโครงสร้างคอนกรีต โครงสร้างคอนกรีตที่ต้องเททีละส่วน เช่น ผนังชั้นใต้ดิน (Foundation Wall) พื้นดาดฟ้า บ่อเก็บน้ำ หรือสระน้ำขนาดใหญ่ ส่วนผสมของคอนกรีตไม่ถูกต้อง และการเทคอนกรีตไม่ดีพอ การขาดความรู้ในการก่อสร้าง และเลือกใช้วัสดุ กันซึมหรือการใช้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพทำให้เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการรั่วซึม เกิดความชื้นซึมผ่านหรือ แตกร้าว ก่อให้เกิดปัญหาที่ตัววัสดุมุง เช่น การแตกร้าว เกิดรูรั่ว จากความเสื่อมสภาพของวัสดุมุง หรืออุปกรณ์ประกอบ เช่น แผ่นยาง น๊อต – ข้อต่อหลุด หรือการกระทบกระเทือนจากของแข็ง และปัญหาทางเทคนิคการติดตั้ง มักเกิดกับงานที่ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญงาน เพราะใช้วัสดุที่ใช้ยังไม่แพร่หลาย การติดตั้งต้องใช้เทคนิคสูง จึงควรพิจารณาก่อนตัดสินใจให้มาติดตั้งกับอาคารบ้านเรือนของท่าน

ระบบกันซึมในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ

Sheet apply and Liquid apply

  • Sheet apply เป็นระบบกันซึมเป็นแผ่นสำเร็จรูปมีทั้งชนิดมีกาวในตัวและไม่มีกาวในตัว อาจใช้ความร้อนในการติดตั้งหรือเครื่องมือเฉพาะโดยกันซึมประเภทนี้จะมีจุดอ่อนตรงที่มีรอยต่อดังนั้นต้องพิจารณาก่อนนำมาใช้กับบริเวณที่ต้องการติดตั้ง ส่วนคุณสมบัติของวัสดุกันซึมประเภทนี้มีทั้งวัสดุประเภทยางมะตอย (bitumen), PVC และอื่นๆ
  • Liquid apply เป็นระบบกันซึมแบบไร้รอยต่อมีวัสดุให้เลือกใช้หลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุมีราคาแตกต่างกันไปโดยมีวัสดุประเภท
    ยางมะตอย (bitumen),ซีเมนต์, โพลี่ยูรีเทน, อะคิลิคและโพลี่ยูเรีย เป็นต้น

การเลือกนำมาใช้งานควรรู้จักสถานที่ที่จะนำมาใช้งานด้วยเพื่อความคงทนเนื่องจากเป็นวัสดุที่มีราคาสูงเพราะเนื่องด้วยต้องทนต่อสภาพแวดล้อม ยูวีจากแสงแดดและผลจากการเคลื่อนตัวของโครงสร้างอาจมีผลให้วัสดุทนต่อการฉีกขาดได้ไม่นาน อย่างไรก็ตามทางบริษัทคอลล็อก มีความชำนาญทางด้านนี้อย่างดี จึงรู้ที่จะเลือกชนิดวัสดุที่จะนำมาใช้แนะนำแก่ลูกค้าอย่างถูกประเภทการใช้งานเพื่อให้มีอายุการใช้งานนานนับสิบปีที่ผ่านมาหลายๆโครงการที่ทาง คอลล็อก ได้เข้าไปติดตั้งระบบกันซึมให้มีความพอใจหลังการติดตั้งทั้งอาคารและโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับพรีเมี่ยมเช่น โครงการ ลัดดาวัลย์ ถนนราชพฤกษ์ และอีกหลายโครงการวัสดุกันซึมมีบุคลิกเฉพาะตัวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่จะนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น

  1. วัสดุกันซึมประเภทซีเมนต์ผสมอะคิลิค ซึ่งมีทั้งแบบดัดงอ Flexible and Elastomeric (ยืดหยุ่นตัวสูง) แต่ทั้ง 2 แบบนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานที่เปียกเท่านั้นเช่น สระว่ายน้ำ กระถางต้นไม้และในห้องน้ำ ไม่ควรให้สัมผัสแสงแดดเพราะจะทำให้มีอายุการใช้งานสั้นลง
  2. วัสดุกันซึมประเภทบิทูเมน มี 2 แบบ แผ่นและชนิดเหลว
    –  ชนิดเหลว
    เป็นยางมะตอยถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานฐานรากฝังดินกลบ ไม่เหมาะนำมาใช้กับงานที่สัมผัสแสงแดด ไร้รอยต่อ
    – แบบแผ่น มีสองชนิดคือมีกาวในตัวและไม่มีกาวในตัวใช้ไฟลน
    วัสดุประเภทนี้มีความหนาตั้งแต่ 1.5-6 mm. โดยจะมีรอยต่อแผ่นหลังการติดตั้งจึงควรศึกษามุม slope ของพื้นเพื่อไม่ให้ขวางทางน้ำไหล เพื่อยืดอายุการใช้งาน
  3. วัสดุกันซึมประเภทอะคิลิค (Acylic) วัสดุประเภทนี้มีข้อดีคือมีสีสันให้เลือกใช้มีความคงทนในระดับหนึ่งแต่สามารถทำให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นได้ด้วยการเสริมใย (Fiberglass) เส้นใยชนิด Chopped strand
    โดยการทาซ้ำหลายๆชั้น มีความยืดหยุ่นมากกว่า 300%
  4. วัสดุกันซึมประเภทโพลี่ยูรีเทน (Polyurethane) วัสดุประเภทนี้มีข้อดีคือ
    มีความเหนียวยึดเกาะผิวคอนกรีตได้อย่างดี ทนต่อสภาวะแสงแดดความร้อนได้ดีกว่า อะคิลิค มีสีสันในบางผู้ผลิตอาจผลิตเพียงสีดำเท่านั้นแต่อาจใช้สีสะท้อนความร้อนทาทับเพื่อยืดอายุการใช้งานเข้าไป วัสดุตัวนี้จึงมีความยืดหยุ่นมากกว่า 600% โดยไม่จำเป็นต้องเสริมใยแก้ว
  5. วัสดุกันซึมประเภท พีวีซีชีท (PVC) วัสดุกันซึมประเภท Sheet apply
    เวลาติดตั้งต้องใช้การเชื่อมด้วยความร้อนมีความคงทนแต่มีข้อเสียที่รอยต่อหากเชื่อมไม่ดีพอ สามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็ว มีสีให้เลือกน้อย
  6. วัสดุกันซึมประเภทโพลี่ยูเรีย เป็นกันซึมชนิดไร้รอยต่อ แห้งตัวไวมีความทนทานต่อการขูดขีดสูงกว่ากันซึมชนิดอื่นๆ ทนต่อแรงดึงมีแรงยึดเกาะเป็นเลิศสามารถกันน้ำได้ตลอดเวลาหลังแห้งตัว สามารถใช้งานกับโครงสร้างที่มีการเคลื่อนตัวได้ดีกว่าประเภทอื่นๆในช่วงเวลาที่ผ่านไปวัสดุประเภทนี้ต้องใช้เครื่องมือในการทำงานโดยใช้เครื่องแรงดันพ่นส่วนผสมให้สัมผัสอากาศก่อนแข็งตัวชั่วเวลาเพียงนาที
  7. ระบบกันซึมประเภทตกผลึก คริสตัลไลซ์ (Crystalization)
    เป็นกันซึมในรูปแบบซีเมนต์อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้งานง่ายอาจใช้ผสมน้ำยาหรือใช้โปรยหรือผสมลงในคอนกรีตขณะเท โดยจะมีคุณสมบัติทางเคมีเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารในซีเมนต์เพลส จำพวก Free lime เมื่อสารตัวนี้เจอความชื้นจะไปทำปฏิกิริยากับสารในซีเมต์เกิดผลึกแก้วทำให้ทึบน้ำแบบไม่สิ้นสุด หากพื้นโครงสร้างเกิดการแตกร้าวแล้วมีความชื้นหรือน้ำมาสัมผัสสารนี้จะก่อตัวตกผลึก โดยเป็นกันซึมที่มีองค์ประกอบทางเคมีหลักๆ แคลเซี่ยม 3ชนิด ช่วยเร่งในการก่อตัวของผลึก

หากมีคำถามติดต่อมาที่เรามีคำตอบพร้อมแก้ปัญหาจากการรั่วซึม เรามีทีมงานผู้ชำนาญด้านระบบกันซึมหลังคา สระว่ายน้ำ พื้นที่เปียกและห้องน้ำ พร้อมดำเนินการด้วยความรับผิดชอบรับประกันผลงานนานถึง 3-10 ปีและระบบโพลี่ยูเรีย เรากล้ารับประกันนานถึง 15 ปี

การทำระบบกันซึมถังน้ำดี

งานทำกันซึมประเภทอคิลิค (Acylic)

งานทำกันซึมโพลี่ยูเรีย (Polyurea)

งานทำระบบกันซึมสระว่ายน้ำ

งานทำระบบกันซึมชนิด PVC. Sheet

งานทำระบบกันซึมชนิด PU.(Polyurethane)

งานทำระบบกันซึมประเภทตกผลึก (Crystallinezation)

งานทำกันซึมระบบเป่าไฟ บิทูเมน

งานระบบกันซึม